การเตรียมตัวก่อนพาสัตว์เลี้ยงไป โรงพยาบาลรักษาสัตว์
การพาสัตว์เลี้ยงที่เรารักไปพบสัตวแพทย์ในแต่ละครั้ง หลาย ๆ ท่านอาจจะมีความกังวลใจว่าจะใช้บริการกับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ที่ไหนดี ? และทางเรายังคงเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านมักจะรู้สึกวิตกกังวลใจ เนื่องจากประสบการณ์การไปหาหมอของน้องหมาน้องแมวในครั้งแรกนั้น นับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงในอนาคตอันใกล้ บ่อยครั้งที่สัตว์เลี้ยงต้องเผชิญกับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงระหว่างการรักษา ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมที่ติดอยู่ในใจ และทำให้สัตว์เลี้ยงไม่ต้องการที่จะไปพบสัตวแพทย์อีก หรืออาจจะทำให้พวกเขามีความเครียดทุกครั้งที่ต้องเดินทางไปพบสัตวแพทย์โดยตรง ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยง สามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพของพวกเขาในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้น การเตรียมตัวและฝึกฝนสัตว์เลี้ยงก่อนพาสัตว์เลี้ยงไป โรงพยาบาลรักษาสัตว์ เพื่อไปพบสัตวแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเครียดและทำให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น ส่วนเทคนิคการเตรียมตัวก่อนพาสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลหรือคลินิกรักษาสัตว์จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลยค่ะ
การเตรียมตัวก่อนพาสัตว์เลี้ยงไป โรงพยาบาลรักษาสัตว์
- ควรฝึกให้น้องหมาหรือน้องแมวใส่สายจูง หรือฝึกให้อยู่ในตะกร้าหรือกระเป๋าเดินทาง
- แมว
สำหรับการเตรียมตัวน้องแมวก่อนการเดินทางไปพบสัตวแพทย์ที่ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 วัน โดยการวางตะกร้าหรือกระเป๋าในบริเวณที่แมวชอบนอน เพื่อให้แมวสามารถทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ดังกล่าวได้ โดยควรเปิดฝาตะกร้าหรือกระเป๋าไว้และใส่ผ้าห่มหรือของเล่นที่มีกลิ่นของแมวเข้าไป เพื่อช่วยให้แมวรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่นใจเมื่อถึงเวลาต้องเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
นอกจากนี้ ควรเลือกตะกร้าหรือกระเป๋าที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวแมวเล็กน้อย และมีฝาเปิดด้านบนเพื่อให้แมวรู้สึกสบายตัวและสามารถนำออกมาได้อย่างง่ายดาย ในกรณีที่แมวอาจมีอาการขับถ่ายหรืออาเจียนระหว่างการเดินทาง ควรปูแผ่นรองซับไว้ในตะกร้าหรือกระเป๋าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความยุ่งเหยิง และทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
- สุนัข
การเริ่มต้นฝึกให้น้องหมาหรือสุนัขใส่สายจูงตั้งแต่อายุยังน้อยนับได้ว่าเป็น็สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในระยะแรก น้องหมาอาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับการใส่สายจูง ดังนั้นจึงควรใช้วิธีการฝึกที่เน้นการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก เช่น การให้รางวัลเมื่อเห็นว่าน้องหมาสามารถอยู่ในสายจูงได้อย่างสงบ และไม่ให้รางวัลเมื่อมีพฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงควรมีความอดทนเป็นพิเศษเพื่อที่จะฝึกน้องหมาได้สำเร็จ และที่สำคัญควรเลือกสายจูงที่มีความยาวพอเหมาะ ไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไป และควรใช้สายจูงทุกครั้งเมื่อพาน้องหมาออกไปข้างนอก เพื่อสร้างความคุ้นเคยและรักษาพฤติกรรมที่ดีเมื่ออยู่ในสายจูง
- ควรฝึกสัตว์เลี้ยงให้ไปพบสัตวแพทย์
เมื่อไปถึง โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ครั้งแรก มักจะเป็นการตรวจสุขภาพเบื้องต้นซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และยังเป็นโอกาสในการขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดูแลสัตว์เลี้ยง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสัตว์เลี้ยงกับสัตวแพทย์ในอนาคต การพาน้องหมาน้องแมวไปยังโรงพยาบาลสัตว์บ่อยครั้ง นอกจากการรักษาแล้ว เรายังสามารถพาน้องไปเลือกซื้ออาหารและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ยาหยอดเห็บหมัดที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยให้น้องรู้สึกคุ้นเคยกับบรรยากาศของโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรพาน้องไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งทำการฉีดวัคซีนตามกำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าสุขภาพของน้องดีได้ในระยะยาว
- เลือก โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง
สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มักจะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม และมีแนวโน้มที่จะเครียดได้ง่าย การเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกรักษาสัตว์ที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงจึงนับได้ว่ามีความจำเป็นอย่างมาก หลาย ๆ ท่านที่กังวลใจว่าจะใช้บริการกับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ที่ไหนดี ทางเราจึงขอแนะนำให้ทุกท่านเน้นเลือกใช้บริการกับโรงพยาบาลสัตว์ที่ได้มีการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมและเป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การจัดตั้งสถานพยาบาลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแมว หรือการสร้างโซนที่แยกออกมาเพื่อรองรับความต้องการของแมวโดยเฉพาะ เพื่อให้แมวรู้สึกปลอดภัยและลดความเครียดในระหว่างการเข้ารับการรักษาได้มากที่สุด
- เตรียมความพร้อมก่อนพาน้องแมวน้องหมาไปพบสัตวแพทย์
ปัจจัยที่มีความสำคัญในการช่วยให้น้องหมาน้องแมวไม่รู้สึกกลัวเมื่อต้องไปพบสัตวแพทย์ นั่นก็คือ การสร้างความมั่นใจให้กับน้องหมาน้องแมวเป็นสำคัญ สามารถทำได้โดยการจัดเตรียมพื้นที่ภายในรถยนต์ให้มีความสะดวกสบายและผ่อนคลาย โดยเฉพาะในกรณีของลูกสุนัข ผู้เลี้ยงสามารถใช้ตะกร้าหรือผ้าขนหนูเพื่อให้เขานอนพักผ่อน หรืออาจจะใช้ผ้าอ้อมในการห่อตัวและอุ้มไว้บนตักก็ได้
นอกจากนี้ ก่อนที่จะพาน้องหมาน้องแมวขึ้นรถ ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารเขาก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดอาการเมารถในระหว่างการเดินทาง ผู้เลี้ยงยังสามารถเปิดโอกาสให้น้องหมาได้สำรวจและมองเห็นบรรยากาศภายนอกรถ เพื่อให้เขารู้สึกว่าการออกนอกบ้านนั้นไม่เป็นอันตราย ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น
และนอกจากนี้แล้ว ผู้เลี้ยงควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม เช่น สายจูง, ทิชชูเปียก, กระดาษชำระและชามน้ำ เพื่อให้สุนัขสามารถดื่มน้ำในระหว่างที่รอการรักษา ซึ่งจะช่วยให้สุนัขรู้สึกผ่อนคลายและสบายตัวมากยิ่งขึ้น
- ฝึกปล่อยให้น้องแมวและน้องหมาได้สำรวจพื้นที่
เมื่อผู้เลี้ยงนำสุนัขและแมวมาถึง โรงพยาบาลรักษาสัตว์ แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการพาสุนัขและแมวเข้าไปในโรงพยาบาลสัตว์ทันที เนื่องจากอาจทำให้สุนัขและแมวรู้สึกหวาดกลัวได้ แนะนำให้ผู้เลี้ยงพาสุนัขสำรวจบริเวณภายนอกของคลินิกหรือโรงพยาบาลก่อน หากมีสนามหญ้ารอบๆ สามารถใช้สายจูงพาสุนัขไปเดินเล่นเพื่อดมกลิ่นและสำรวจพื้นที่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้กลิ่นของสุนัขให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ การให้สุนัขได้สัมผัสดินและหญ้าจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับพวกเขา และค่อยๆ ทำให้พวกเขารู้สึกว่าบริเวณนี้ไม่เป็นอันตราย เมื่อสุนัขเริ่มรู้สึกมั่นใจและไม่มีอาการต่อต้านแล้ว จึงค่อยพาเขาเข้าไปในโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา
ผู้เลี้ยงควรจัดสรรเวลาให้สุนัขได้มีโอกาสเดินสำรวจบริเวณรอบนอกของโรงพยาบาลสัตว์ก่อนถึงเวลานัดหมายกับสัตวแพทย์ในทุกครั้ง เพื่อช่วยลดความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากหากนำสุนัขลงจากรถแล้วพาเข้าไปในโรงพยาบาลทันที สุนัขอาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้เกิดความกลัวเกินกว่าที่ผู้เลี้ยงจะสามารถควบคุมได้
- ควรวางแผนให้ดี และควรดูแลอย่างใกล้ชิด
เมื่อคุณรู้แล้วว่าจะ เลือกใช้บริการกับ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ที่ไหนดี สิ่งสำคัญต่อไปที่กลุ่มผู้เลี้ยงควรกระทำอย่างมากที่สุดเมื่อต้องพาน้องหมาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ นั่นก็คือ การโทรนัดพบกับสัตวแพทย์แบบล่วงหน้า หากมีใบนัดหรือช่วงเวลานัดพบสัตวแพทย์อย่างชัดเจน จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับการรอตรวจที่นานจนเกินไป และในระหว่างที่รอพบสัตวแพทย์นั้น สำหรับสุนัขที่มีนิสัยขี้กลัวเป็นปกติ การพาไป โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ผู้เลี้ยงควรให้ความใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกรณีของสุนัขพันธุ์เล็กหรือสุนัขที่ยังเป็นลูกสุนัข ผู้เลี้ยงควรอุ้มสุนัขไว้ในอ้อมแขนหรือใช้ตะกร้าที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากสุนัขตัวใหญ่ที่อาจมีนิสัยดุร้ายซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะสุนัขที่มีความตื่นกลัวในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย อาจมีพฤติกรรมกัดหรือทำร้ายได้เช่นกัน ดังนั้น หากผู้เลี้ยงมีสุนัขที่มีนิสัยดุและมีประวัติการกัดคนหรือสัตว์อื่น ๆ ควรพิจารณาใช้ที่ครอบปากเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งคนและสุนัขตัวอื่น ๆ ในระหว่างการเดินทางไปคลินิก
- ควรให้รางวัล กำลังใจและคำชม
ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยและคอยให้กำลังใจสุนัขและแมวทั้งก่อนและหลังการพบสัตวแพทย์ เพราะสุนัขและแมวสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของผู้เลี้ยงดูหรือเจ้าของได้ผ่านโทนเสียง ควรเลือกใช้โทนเสียงที่อ่อนโยน นุ่มนวลเป็นสำคัญ ควรกอด อุ้ม และลูบหัวพวกเขาเบา ๆ พร้อมทั้งปล่อยให้สุนัขและแมวได้ใช้เวลาส่วนตัว ซึ่งจะช่วยทำให้พวกเขาได้ผ่อนคลายได้ง่ายยิ่งขึ้น
หลังพบสัตวแพทย์ควรให้ขนมแก่สุนัขและแมวเป็นรางวัล เพื่อเป็นการกระตุ้นแรงจูงใจแบบเชิงบวก ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีในการเดินทางไปพบสัตวแพทย์ที่ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ ให้กับพวกเขาโดยตรงทำให้พวกเขาได้รู้สึกสบายใจเมื่อต้องเดินทางไปพบสัตวแพทย์ในอนาคตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้