5 โรคในสุนัขที่ต้องระวัง และแนวทางวิธีการรักษา พร้อมแนะนำ คลินิกรักษาสัตว์
สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักและซื่อสัตย์ แต่พวกมันก็มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายเหมือนกับมนุษย์ โรคบางชนิดในสุนัขนั้นนับได้ว่าร้ายแรงและอาจถึงชีวิตได้ บทความนี้ทางเราขอนำเสนอ 5 โรคในสุนัขที่ต้องระวัง พร้อมทั้งแนะนำแนวทางวิธีการรักษา และแนะนำ คลินิกรักษาสัตว์ คลินิกรักษาสัตว์ที่ไหนดี ที่ไว้วางใจได้และได้รับความนิยมสูง เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุนัขของคุณให้ปลอดภัยและมีสุขภาพดียิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปดูข้อมูลเพิ่มเติมกันได้เลย
5 โรคในสุนัขที่ต้องระวัง และแนวทางวิธีการรักษา
- โรคพิษสุนัขบ้า
โดยปกติแล้วโรคพิษสุนัขบ้าถือได้ว่าเป็นโรคร้ายสำหรับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม และถึงแม้ว่าโอกาสที่สัตว์เลี้ยงของคุณจะติดโรคนี้ได้น้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสติดแต่อย่างใด เพราะโดยปกติแล้วอาการโรคพิษสุนัขบ้ามักจะไม่แสดงออกเท่าไหร่นักจนกว่าจะอยู่ในระยะที่รุนแรงแล้ว แต่ในส่วนนี้ผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านไม่จำเป็นจะต้องกังวลใจ เพราะถ้าตราบใดที่คุณได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้คุณสามารถช่วยชีวิตน้องหมาก่อนที่จะสายเกินแก้ การเรียนรู้การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่สุด
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า
โดยปกติแล้ว สุนัขที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามักจะมีปฏิกิริยาที่ไม่สู้แสง เคลื่อนไหวเปลี่ยนไป ส่งผลทำให้สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามักจะทำการหลบหรือซ่อนตัวในมุมมืดเป็นสำคัญ และอาการที่พบได้บ่อยก็คือ สุนัขจะมีลักษณะน้ำลายฟูมปาก หากพบว่าสุนัขของคุณมีบาดแผลจากการถูกสุนัขหรือสัตว์ตัวอื่น ๆ กัดหรือทำร้าย ให้คุณรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อที่จะมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น
แนวทางวิธีการรักษา
หากคุณมีความสงสัยว่าสุนัขของคุณอาจจะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า คุณควรพยายามสังเกตอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ ของน้องหมาอย่างใกล้ชิด หากพบว่าสุนัขของคุณเริ่มที่จะแสดงอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ก้าวร้าว มีอาการกระสับกระส่ายหรือมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิมแบบกะทันหัน อย่างเช่น มีไข้ น้ำลายไหลมากขึ้น หรือแม้กระทั่งมีลักษณะกลืนลำบาก เคลื่อนไหวน้อยลง หากเป็นเช่นนี้ ให้คุณทำการติดต่อสัตวแพทย์ หรืออาจจะเป็น คลินิกรักษาสัตว์ ที่คุณไว้วางใจทันที
และเนื่องจากโรคชนิดนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษาได้โดยตรง หากติดเชื้อย่อมทำให้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมาก ถ้าจะให้ป้องกันได้อย่างจริงจัง ผู้เลี้ยงต้องพยายามนำพาสุนัขไปทำการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันจะดีที่สุด
- โรคไข้หัดสุนัข หรือ Canine Distemper
โรคไข้หัดสุนัข หรือ Canine Distemper นับได้ว่าเป็นโรคติดต่อชนิดร้ายแรงสำหรับสุนัขโดยตรง และยังคงเป็นโรคชนิดที่ไม่มียารักษาได้ โดยต้นเหตุของโรคนี้ก็คือ เชื้อไวรัสกลุ่ม Morbillivirus ซึ่งนับได้ว่าเป็น RNA virus ส่งผลทำให้เกิดโรคในสุนัขพร้อมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่จัดได้ว่าอยู่ในตระกูลเดียวกัน และอาจจะเป็นพาหะนำโรคมาสู่สุนัขได้ในที่สุด
อาการโดยรวมของโรคไข้หัดสุนัข
- สุนัขมีไข้สูง มีอาการซึม อ่อนแรงและเบื่ออาหาร อาการเหล่านี้จะพบได้ในระยะของการฟักตัวของโรค
- มีน้ำมูก เยื่อบุตาอักเสบ ตาแฉะ ตาแดง น้ำตาไหล หายใจลำบาก หากสุนัขติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ย่อมส่งผลทำให้น้ำมูกและน้ำตามีลักษณะเป็นสีขุ่น
- สุนัขอาจจะเกิดอาการอาเจียน ท้องเสีย แต่ไม่รุนแรงเท่ากับการติดเชื้อลำไส้อักเสบ
- สุนัขอาจมีตุ่มหนองแบบกระจายเต็มตัว โดยเฉพาะในส่วนของใต้ท้อง
- หากเชื้อไวรัสได้เข้าสู่ก้านสมองและไขสันหลัง สุนัขอาจไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้อกระตุก และอาจชักได้
แนวทางวิธีการรักษา
เนื่องจากในปัจจุบันไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ หากคุณนำสุนัขที่มีอาการไปรักษากับ คลินิกรักษาสัตว์ ที่คุณไว้วางใจ อาจจะต้องรักษาตามอาการ ไม่ว่าจะเป็น การให้ยาปฏิชีวนะ การให้น้ำเกลือ สารอาหารต่าง ๆ การให้ออกซิเจน และการให้ยาแก้ชัด สงบประสาท รวมไปถึงทำการป้องกันในการติดเชื้อแบบแทรกซ้อน และถ้าหากคุณไม่มั่นใจว่าจะรักษากับ คลินิกรักษาสัตว์ที่ไหนดี ท้ายบทความเรามีข้อมูล แนะนำคลินิกรักษาสัตว์ที่มีแพทย์เฉพาะทาง มาแนะนำเพิ่มเติม
- โรคลำไส้อักเสบ
โรคลำไส้อักเสบในสุนัข นับได้ว่าเป็นอาการจากที่สุนัขได้รับเชื้อไวรัสพาร์โว ซึ่งเกิดมาจากการติดเชื้อทางเดินอาหารของสุนัขโดยตรง ความรุนแรงของโรคนี้ถือได้ว่ามีความน่ากลัวเป็นอย่างมาก โดยอาการจะมีความรุนแรงประมาณ 5 – 7 วันหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อ หากพบว่าน้องหมาในบ้านตัวใดตัวหนึ่งมีอาการที่น่าสงสัย ควรรีบแยกน้องหมาออกจากกันในทันที เพราะน้องหมาตัวอื่น ๆ อาจจะติดหรือได้รับเชื้อนี้ไปด้วย
แนวทางวิธีการรักษา
สำหรับทางการแพทย์แล้วยังไม่มียาตัวไหนที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสพาร์โวได้ สัตว์แพทย์หรือทาง คลินิกรักษาสัตว์ อาจจะทำการรักษาตามอาการของน้องหมาแต่ละราย หากสามารถบรรเทาอาการถ่ายเหลวและอาการอาเจียนได้ก็จะช่วยน้องหมาได้มากยิ่งขึ้น และเมื่อภูมิคุ้มกันของน้องหมากลับมาดีดังเดิมก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคภายในร่างกายได้ต่อไป และที่สำคัญ ผู้เลี้ยงดูไม่ควรละเลยที่จะพาน้องหมาไปฉีดวัคซีนให้ครบ เพราะจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับน้อง ๆ ได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
- โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข
สำหรับโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข นับได้ว่าเป็นโรคภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัขในทุก ๆ สายพันธุ์และทุกช่วงอายุร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบตั้งแต่กลุ่มสุนัขที่มีอายุ 3 – 6 ปี โดยโรคภัยชนิดนี้มักจะติดต่อได้เมื่อสุนัขถูกยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจกัด ตัวอ่อนจะค่อย ๆ เจริญเติบโตในตัวสุนัข ที่สำคัญ สามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกได้ร่วมด้วย ส่วนความรุนแรงของโรคภัยชนิดนี้นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิตัวแก่ที่อาศัยภายในห้องหัวใจและตามหลอดเลือดที่ถูกเลี้ยงไปยังปอดของสุนัข หากพบว่ามีจำนวนมากก็อาจจะเกิดการอุดตันตามห้องหัวใจหรือไม่ก็หลอดเลือดส่วนใดส่วนหนึ่ง ส่งผลทำให้สุนัขปอดอักเสบและหัวใจล้มเหลวได้นั่นเอง
แนวทางวิธีการรักษา
สัตวแพทย์จะทำการรักษาโดยเช็คจากระยะที่เป็นอยู่ ส่วนใหญ่อาจจะต้องมีการเตรียมตัวสุนัขก่อนที่จะเข้ารับการรักษาที่ คลินิกรักษาสัตว์ หรือ โรงพยาบาลรักษาสัตว์ โดยตรง โดยจะต้องให้สุนัขกินยา 1 – 2 สัปดาห์ และทำการประเมินสุขภาพของสุนัขร่วมด้วย หลังจากนั้นสัตวแพทย์อาจจะทำการฉีดยาเพื่อฆ่าตัวแก่ของพยาธิหนอนหัวใจ ฉีดประมาณ 2 – 3 ครั้ง และหากพบว่าสุนัขป่วยในระยะที่ 4 อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำตัวแก่ออกมาบ้าง หากสุนัขมีอาการตับหรือไตวาย อาจจะต้องประคับประคองอาการก่อนที่จะรักษาโรคชนิดนี้โดยตรง
- โรคฮีทโตรกในสุนัข
สำหรับโรคฮีทโตรก หรือ โรคลมแดด ในสุนัข มักจะเกิดขึ้นจากอุณหภูมิภายในร่างกายของสนัขที่มีลักษณะสูงขึ้น จนกระทั่งทำให้ร่างกายของสุนัขเองไม่สามารถที่จะระบายความร้อนได้ทันท่วงที หากอุณหภูมิสูงจนกระทั่งเกินเกณฑ์ที่ปลอดภัย ย่อมส่งผลร้ายแรงต่อตัวสุนัขได้โดยตรง นับได้ว่าเป็นภาวะขั้นรุนแรงและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน
แนวทางวิธีการรักษา
หากพบว่าสุนัขมีอาการเป็นฮีทโตรก หากไม่สามารถพาไปที่ คลินิกรักษาสัตว์ หรือ รักษากับสัตวแพทย์โดยตรง ให้คุณทำการปฐมพยาบาลสุนัขก่อน ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- ย้ายสุนัขไปยังพื้นที่ที่เย็น ไม่ว่าจะเป็นใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา หรือแม้กระทั่ง ห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
- ใช้น้ำเย็นทำการลูบตัวสุนัข ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิให้กับสุนัขได้ แต่จะต้องไม่ใช่น้ำเย็นจัด
- ให้สุนัขนอนบนผ้าที่ชุบน้ำ แต่ไม่ควรเอาผ้าคลุมตัวสุนัข
- ควรให้น้ำแก่สุนัขในปริมาณที่เหมาะสม ให้สุนัขค่อย ๆ กินน้ำหรือจะทำการป้อนก็ได้
- ให้สังเกตระบบการหายใจว่าเป็นปกติแล้วหรือไม่
- นำพาไปพบสัตวแพทย์เมื่อสุนัขมีอาการดีขึ้นแล้ว ควรรีบพาสุนัขไปที่ คลินิกรักษาสัตว์ หรือ โรงพยาบาลสัตว์ ใกล้บ้านของคุณ เพื่อตรวจเช็คสุขภาพของสุนัขเพิ่มเติม ส่วนจะเป็น คลินิกรักษาสัตว์ที่ไหนดี นั้น เราขอแนะนำให้คุณเลือกคลินิกที่คุณเชื่อมั่นและไว้ใจ หรืออาจจะเป็นคลินิกใกล้บ้านของคุณจะดีที่สุด
คลินิกรักษาสัตว์ที่ไหนดี แนะนำ 3 คลินิกรักษาสัตว์ กรุงเทพมหานคร อุปกรณ์ครบครัน ให้บริการดีที่สุด
- คลินิกรักษาสัตว์ เพ็ท พอว์ PET PAW VET CLINIC
เพ็ท พอว์ เป็น คลินิกรักษาสัตว์ ทุกชนิด ให้บริการอย่างครบวงจร มีอุปกรณ์การแพทย์ที่ครบครัน คลินิกสะอาด คุณหมอเก่ง ใจดี และใจเย็น เข้าใช้บริการได้อย่างอุ่นใจทุกเวลา
เปิดทำการ : จันทร์ – เสาร์ เวลา 10:00 – 19:30 น. หยุดทุกวันอาทิตย์
ที่ตั้งของคลินิก : 28 ถ.เจริญนคร แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
เบอร์โทรศัพท์ : 02 115 5299
- คลินิก4ขาวิภา60
คลินิก4ขาวิภา60 เป็นคลินิกสัตวแพทย์ที่ให้บริการครบวงจร มีพื้นที่จอดรถกว้างขวาง สะดวกสบาย ให้บริการครบวงจร อุปกรณ์การแพทย์ครบครัน บริการดีมีคุณภาพพร้อมทั้งราคาเหมาะสม ได้มาตรฐาน
ที่ตั้งคลินิก : 71 ซอยวิภาวดีรังสิต 60 แยก 3-9 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
เบอร์โทรศัพท์ : 092 994 9588
เวลาเปิดทำการ : วันอังคาร – อาทิตย์ เวลา 9.00 – 20.00 น. หยุดทุกวันจันทร์
- คลินิกรักษาสัตว์ ประชาอุทิศ ดอนเมือง
คลินิกสัตวแพทย์ประชาอุทิศ ดอนเมือง เป็นอีกหนึ่งคลินิกที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาในกรุงเทพมหานคร บริการดีสร้างความประทับใจได้อย่างมากมาย ราคาไม่แพง พร้อมให้บริการถึงบ้านร่วมด้วย
ที่ตั้งคลินิก : 94 ถนนประชาอุทิศ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210
เบอร์โทรศัพท์ : 087 565 1515
เวลาเปิดทำการ : วันอังคาร – เสาร์ เวลา 10.00 – 18.30 น. วันอาทิตย์เวลา 10.00-16.00 น. หยุดทุกวันจันทร์